เที่ยววัดสามพรานหรือวัดพญามังกร, ประเทศไทย

เที่ยววัดสามพรานหรือวัดพญามังกร, ประเทศไทย

Spread the love

วัดนี้สวยขนาดไหน?

มีหลายคนถามฉันเกี่ยวกับวัดสีชมพูที่มีมังกรพันรอบ ที่จริงแล้ววัดนี้คือวัดสามพรานซึ่งเริ่มได้รับความนิยมขึ้นมาเมื่อเร็วๆนี้

แต่ก็ยังไม่มีชื่อเสียงมากนักอีกทั้งยังเดินทางเข้าถึงลำบาก

ดังนั้นคุณอาจป็นนักท่องเที่ยวคนเดียวที่อยู่ที่นั่น

แต่มันก็คุ้มค่าไม่ใช่หรือ?

ฉันอยากบอกว่ามันคุ้มค่า จะมีสักกี่ครั้งที่คุณจะได้เห็นมังกรตัวมหึมาขนาดนั้นถึงแม้มันจะเป็นของปลอมก็ตาม อาจจะยากพอๆกับการได้เห็นมังกรสม็อกผู้ยื่งใหญ่ด้วยตาของคุณเองโดยไม่ต้องกลัวว่าจะต้องโดนไฟมังกรเผาทั้งเป็นเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณกำลังวางแผนจะไปที่นี่ นี่คือทุกอย่างที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับวัดสามพรานหรือวัดพญามังกร

ประวัติวัดสามพราน

ความเป็นจริงแล้วประวัติความเป็นมาของวัดนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด ตำนานของคนในท้องถิ่นเล่ากันว่า วัดนี้สร้างโดยหลวงพ่อภาวนาพุทโธ และได้รับการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2528 ใช้เวลาในการสร้างวัดทั้งสิ้น 5 ปี

วัดสามพรานไม่ได้มีเพียงแค่อาคารสีชมพูเท่านั้น แต่ยังมีอาคารประกอบอื่นๆอีกหลายอาคาร รวมถึงสถานปฏิบัติธรรม, ส่วนพี่พักอาศัย และส่วนร้านขายอาหาร วัดนี้เป็นการผสมผสานความเชื่อแบบจีนซึ่งแทนด้วยมังกรและความเชื่อแบบไทยซึ่งเกิดจากพระสงฆ์ในท้องถิ่น

วัดนี้เคยมีข่าวอื้อฉาวเกี่ยวพระสงฆ์ในวัดประพฤติผิดทางพระวินัยกับหญิงสาวจนต้องสึกและถูกจำคุกในปี พ.ศ. 2547 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาวัดก็ไม่ได้รับการทำนุบำรุง และเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเมื่อไม่นานมานี้เท่านั้น

วัดสามพราน
วัดสามพราน

วัดสามพรานตั้งอยู่ที่ไหน?

วัดสามพรานตั้งอยู่ที่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ห่างจากกรุงเทพเป็นระยะทาง 40 กิโลเมตร อานาเขตของวัดอยู่ห่างจากทางหลวงหลักประมาณ 1 กิโลเมตร

ตัววัดค่อนข้างห่างจากความเจริญของตัวเมือง ตึกสูงแห่งเดียวที่ใกล้ตัววัดที่สุดนั้นอยู่ห่างออกไปหลายกิโลเมตร ดังนั้นคุณจะสามารถสังเกตุเห็นตัววัดได้จากระยะไกลๆ

ที่อยู่: 92/8 หมู่ที่ 7 ต.สามพราน อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110

การเดินทางไปยังวัดสามพราน

การเดินทางโดยรถแท็กซี่

หากคุณไม่ได้มีงบประมาณจำกัดหรือมากันหลายคน วิธีที่สะดวกที่สุดคือการจ้างรถแท็กซี่ ค่ารถแท็กซี่ขาเดียวจากกรุงเทพประมาณ 300-400 บาท

ค่ารถแท็กซี่ไป-กลับจากกรุงเทพประมาณ 600-800 บาท สำหรับการเดินทางแบบครึ่งวัน ขึ้นอยู่กับการต่อรองและขึ้นอยู่กับว่าคณอยู่จุดไหนของกรุงเทพ ภายในวัดมีที่จอดรถฟรีบริการ

ด้านนอกวัดเองก็มีบริการแท็กซี่ แต่อาจมีจำนวนไม่มาก คุณอาจจะสามารถใช้บริการรถแท็กซี่ในขากลับจากด้านนอกวัดได้

แท็กซี่เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการเดินทางไปยังวัด การเดินทางขาเดียวใช้เวลาประมาณ 30 นาที ไม่มี Grab หรือ Uber ให้บริการในพื้นที่

วัดสามพรานมองเห็นจากระยะไกล
วัดสามพรานมองเห็นจากระยะไกล
ทางเข้าถัดจากที่จอดรถ
ทางเข้าถัดจากที่จอดรถ

การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง

ไม่มีบริการรถโดยสารประจำทางตรงไปถึงด้านหน้าวัด แต่มีรถโดยสารบางเส้นทางที่คุณสามารถไปลงบริเวณใกล้วัดได้ จากนั้นคุณต้องนั่งแท็กซี่จากป้ายรถโดยสารต่อไปยังวัด การเดินทางขาเดียวอาจต้องใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมง

หากคุณเดินทางจากกรุงเทพ คุณสามารถเดินทางโดยรถไฟใต้ดิน MRT โดยลงที่สถานีหลักสอง ( MRT  สายสีน้ำเงิน) หรือเดินทางโดยรถไฟฟ้า BTS โดยลงที่สถานีบางว่า (BTS สายสีเขียวเข้ม) จากนั้นนั่งรถประจำทางสาย 84 (ปรับอากาศ) ไปยังวัดสามพรานซึ่งค่ารถประจำทางจะอยู่ที่คนละ 25 บาท

ป้ายรถประจำทางจะอยู่ก่อนถึงวัดปะมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งคุณสามารถเรียกรถรับจ้าง (50 บาท) หรือรถตู้โดยสารจากจุดนั้นไปยังวัดได้

หรืออีกทางหนึ่งคือการนั่งรถโดยสารสาย 515 จากบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปยังห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลศาลายา จากนั้นให้นั่งแท็กซี่จากฝั่งตรงข้างของห้างสรรพสินค้าไปยังวัดสามพรานเป็นระยะทาง 12 กิโลเมตร

รถโดยสารประจำทาง (สาย 84) ไปวัดสามพราน
รถโดยสารประจำทาง (สาย 84) ไปวัดสามพราน

การเดินทางโดยรถตู้โดยสาร

เพื่อที่จะนั่งรถตู้โดยสารไปยังจุดที่ใกล้ที่สุดจากวัดสามพานนั้น คุณจะต้องเดินทางไปยังสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ หรือหากคุณอยู่ที่ถนนข้าวสาร คุณสามารถนั่งรถโดยสารสาย 511 และ 79 จากถนนราชดำเนินกลาง อีกทางหนึ่งคือใช้บริการแอฟพลิเคชั่น  ViaBus หรือ moovit (moovitapp.com) เพื่อค้นหาเส้นทางรถโดยสารที่ดีที่จุดจากจุดที่คุณอยู่

จากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ คุณสามารถนั่งรถตู้โดยสารสาร 88 (หรือสอบกับเจ้าหน้าที่) รถตู้โดยสารจะไปส่งคุณที่ถนนเพชรเกษม ฝั่งตรงข้ามกับโรงพยาบาลสามพราน จากนั้นคุณสามารถเดินไปยังวัดได้ โดยระยะทางการเดินประมาณ 1 กิโลเมตร การเดินทางโดยรถตู้โดยสารนั้นเร็วกว่ารถโดยสารประจำทาง ใช้เวลาประมาณ 40 นาทีจากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่

เวลาเปิด-ปิด และค่าเข้าชมของวัดสามพราน

วัดสามพรานเปิดตั้งแต่เวลา 6:00 น. – 18:00 น. ของทุกวันสำหรับนักท่องเที่ยวและผู้เยี่ยมชม

ปกติจะมีนักท่องเที่ยวเพียงไม่กี่คนภายในบริเวณวัด ดังนั้นคุณจะค่อนข้างมีความเป็นส่วนตัวไม่ว่าคุณจะเดินไปบริเวณไหนของวัด (หรือคุณอาจเจอนักท่องเที่ยว 3-4 คนหากคุณโชคดี )

ทางวัดสามพรานอนุญาตให้เข้าชมได้ฟรีโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียม อย่างไรก็ตามคุณสามารถบริจาคเงินให้ทางวัดได้โดยเงินทั้งหมดจะถูกนำไปใช้เพื่อการบำรุงรักษาวัดและพระสงฆ์

ทางเข้าอาคารมังกร
ทางเข้าอาคารมังกร

การเยี่ยมชมวัดสามพราน

เมื่อคุณเดินทางไปถึงวัดสามพราน สิ่งแรกที่คุณจะสังเกตุได้คือความร้างของวัดซึ่งลานจอดรถอันว่างเปล่าสามารถเป็นเครื่องบ่งบอกได้เป็นอย่างดี เมื่อคุณเดินเข้าไปทางซ้ายมือ คุณจะไ้ด้เห็นมังกรที่พันเลื้อยขึ้นไปบนตึกขนาดใหญ่ที่ปกคลุมภูมิทัศน์โดยรอบเกือบทั้งหมด

สถาปัตยกรรมต่างๆภายในวัดสามพรานนั้นมีความหมายลึกซึ้งซึ่งถูกตีความมาจากตำนานและความเชื่อของทั้งจีนและไทย

อาคารมังกรจากรอยเท้า
อาคารมังกรจากรอยเท้า

อาคารมังกร

จุดเด่นของวัดคืออาคารสีชมพูที่มีมังกรพันอยู่ล้อมรอบ ตัวตึกทั้งหมดสูง 80เมตร สื่อความหมายถึงอายุของพระพุทธเจ้าก่อนปรินิพพาน ตัวตึกมีทั้งหมด 17 ชั้นสื่อความหมายถึงสวรรค์ชั้นพรหมทั้ง 17 ชั้นตามความเชื่อที่ว่ามนุษย์ต้องผ่านชีวิตหลังความตายไปอยู่สวรรค์ชั้นต่างๆตามแต่ผลบุญที่สะสมและระดับของการบรรลุหลักธรรมขั้นต่างๆ

มังกรที่พันรอบตัวอาคารตั้งแต่ฐานจนถึงด้านบนสุดของอาคารนั้นเป็นสัญลักษณ์ของการเดินทางของมนุษย์ นับแต่การทนทุกข์ทรมานไปจนถึงความสุขสรรค์ซึ่งเป็นความหมายในเชิงสัญลักษณ์ของนรกและสวรรค์

จากตำนานพื้นบ้านนั้น มังกรนั้นมีขนาดมโหฬาร แข็งแรง มีความคล้ายคลึงกับความเชื่อโบราณของจีนที่เชื่อว่ามังกรเป็นสัญลักษณ์ของฮ่องเต้หรือจักรพรรดิ

ตามความเชื่อแบบไทยนั้น พยานาคเป็นสัตว์ร้ายที่ขอบวชกับพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าไม่อนุญาต ดังนั้นพยานาคจึงได้ไปสิงในร่างมนุษย์และขอบวชกับพระพุทธเจ้าอีกครั้ง

ครั้งนี้พระพุทธเจ้าอนุญาตให้พยานาคได้บวชเป็นพระได้ แต่สามารถนุ่งได้แต่ผ้าขาวเท่านั้น (ไม่สามารถนุ่งผ้าเหลืองได้เหมือนพระสงฆ์ทั่วไป) ดังนั้นจนกระทั้งทุกวันนี้ ชายที่จะบวชนั้น จะถูกเรียกว่า “นาค” ก่อนที่จะกลายเป็นพระ

มุมมองทางอากาศของยอดตึกมังกร
มุมมองทางอากาศของยอดตึกมังกร

บริเวณด้านข้างของอาคารหลักจะมีศาลขนาดเล็กทั้งหมด 7 ศาล ในขณะที่เราเดินไปรอบๆ เราเห็นแม่ชีเล่าให้ผู้เยี่ยมชมบางคนฟังว่าศาลแต่ละองค์แทนการบูชาวันแต่ละวันของสัปดาห์ นั่นคือคุณสามารถบูชาศาลตามวันเกิดของคุณ (ด้วยดอกไม้และเงินบริจาค) คุณต้องถอดรองเท้าไว้ด้านนอกก่อนเข้าศาล

ในห้องโถงมีพระพุทธรูปจำนวนมากตั้งเรียงรายอยู่ภายใน มีพระประธานตั้งอยู่ตรงกลาง โดยปกติแล้วจะไม่มีคนอยู่ภายใน

คุณสามารถเดาได้ว่าสถานที่นี้มีการบำรุงรักษาที่ค่อยข้างด้อยกว่ามาตรฐานเมื่อเทียบกับวัดอื่นๆที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ด้านข้างบันไดทางขึ้นมีป้ายบอกว่าคุณต้องตั้งจิตอธิษฐานก่อนที่คุณจะเดินขึ้นบันได

พระพุทธรูปมากมายเมื่อคุณเข้าสู่อาคารหลัก
พระพุทธรูปมากมายเมื่อคุณเข้าสู่อาคารหลัก
ป้ายก่อนปีนมังกร
ป้ายก่อนปีนมังกร

เพียงเดินขึ้นบันไดไปหนึ่งชั้น คุณจะได้พบกับทางเข้าอุโมงค์มังกร นั่นหมายถึงคุณสามารถปีนขึ้นไปด้านบนตามท้องของมังกรได้ ฉันต้องยอมรับว่าอุโมงค์นั้นค่อนข้างแคบและมีกลิ่นอับในบางจุด ดังนั้นคุณสามารถใช้ลิฟต์ในการขึ้นได้หากลิฟต์ใช้การได้

ทางเข้าท้องมังกร
ทางเข้าท้องมังกร
เดินอยู่ภายในท้องมังกร
เดินอยู่ภายในท้องมังกร

ด้านบนสุดของอาคารนั้นมีสองชั้น คุณสามารถสัมผัสหนวดมังกรซึ่งเชื่อว่าจะให้โชคลาภ บนนั้นมีแม้กระทั่งตู้ถ่ายรูป วิวจากด้านบนนั้นสวยงาม คุณสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์รอบๆได้ไกลหลายกิโลเมตร ทางขวามือคุณมาสารถมองเห็นกรุงเทพเป็นเงาลางๆตรงเส้นขอบฟ้า

ใกล้ปากมังกรด้านบน
ใกล้ปากมังกรด้านบน
ศาลเจ้าเล็ก ๆ ที่ด้านบนสุดของอาคาร
ศาลเจ้าเล็ก ๆ ที่ด้านบนสุดของอาคาร
มุมมองจากด้านบนของวัดสามพราน
มุมมองจากด้านบนของวัดสามพราน
สถานปฏิบัติธรรมภายในวัดสามพราน
สถานปฏิบัติธรรมภายในวัดสามพราน

อาณาบริเวณวัดสามพราน

ภายในบริเวณวัดมีร้านค้าประมาณ 2-3 ร้าน บางร้านขายอาหารและของทานเล่น บางร้านขายดอกไม้สำหรับนำไปกราบไหว้บูชาภายในวัด ในพื้นที่วัดมีโอ่งไหรูปร่างต่างๆที่ถูกอารักข์ด้วยมังกรขนาดเล็ก

คุณสามารถโยนเหรียญในบริเวณโอ่งได้ โดยสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะให้พรคุณตามแต่ตำแหน่งที่เหรียญของคุณตก ซึ่งอาจมีตั้งแต่ได้ทรัพย์จากครอบครัว ไปจนถึงมีชื่อเสียงโด่งดัง

น้ำพุปรารถนาที่ให้พรที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าคุณหยอดเหรียญลงพื้นที่ใด
น้ำพุปรารถนาที่ให้พรที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าคุณหยอดเหรียญลงพื้นที่ใด

ตรงข้ามจุดนั้นคือมังกรคาบแก้ว 9 ตัว

แก้วเป็นเครื่องหมายแทนความมั่งคั่งร่ำรวย ในขณะที่เลข 9 นั้นสื่อถึงสมาชิกในครอบครัว เช่น ปู่, แม่, ภรรยา, ลูก เป็นต้น (สมาชิกแต่ละคนถูกเขียนเป็นภาษาไทยและห้อยไว้ที่คอของมังกร)

พระพุทธรูปสีทององค์ใหญ่นั้นตั้งอยู่ด้านหน้าขออาคารหลักเล็กน้อย บริเวณรอบๆพระพุทธรูปนั้นเปิดโล่ง ดูคล้ายพื้นที่สำหรับปฏิบัติธรรม

มังกรพันเก้าคู่แต่ละตัวเป็นตัวแทนของสมาชิกในครอบครัว
มังกรพันเก้าคู่แต่ละตัวเป็นตัวแทนของสมาชิกในครอบครัว
ลานปฏิบัติธรรมภายในวัดสามพราน
ลานปฏิบัติธรรมภายในวัดสามพราน

ในขณะที่คุณเดินไปรอบๆบริเวณวัดนั้น คุณจะตระหนักว่ามีรูปปั้นของสัตว์หลากหลายชนิดซ่อนอยู่ตามที่ต่างๆ มีทั้งช้างเผือกขนาดใหญ่, นกยูง, กระต่ายเผือก และฝูงโลมา สะพานเล็กและกลุ่มคนบนสะพานสื่อถึงความสำคัญของสงฆ์ในฐานะที่เป็นผู้หมุนวงล้อแห่งชาติ

อย่าลืมไปดูรูปปั้นเต่ายักษ์อ้าปากด้านหน้าถ้ำ เมื่อคุณเดินไปถึงด้านล่างของถ้ำ คุณจะเจอกับศาลขนาดเล็กและปากถ้ำ ส่วนรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมขนาดใหญ่นั้นตั้งอยู่ด้านนอกของถ้ำ ใกล้กับลานจอดรถ

ประติมากรรมช้างเผือก
ประติมากรรมช้างเผือก
รูปปั้นนกยูงขนาดใหญ่
รูปปั้นนกยูงขนาดใหญ่
ประติมากรรมพระสงฆ์นำชาติ
ประติมากรรมพระสงฆ์นำชาติ

อาหารการกิน

ฝั่งตรงข้ามกับทางเข้าของตึกสีชมพูจะมีร้านอาหารอยู่ 2-3 ร้านที่บริหารจัดการโดยชาวบ้านและแม่ชี ประเภทอาหารจะเป็นอาหารทั่วๆไป เช่น ผัดไท ข้าวผัด เครื่องดื่ม และขนมทานเล่น นอกจากนั้นก็มีร้านอื่นที่ขายขนมทานเล่นแบบไทยหากคุณคุ้นเคยกับการทานขนมแบบนี้

มีเซเว่นอีเลเว่นตั้งอยู่ใกล้ๆที่คุณสามารถเดินเข้าไปหาอาหารทานได้ถ้าคุณหิว นอกจากนี้แล้วก็ไม่ได้มีร้านอาหารอื่นอีก เพราะฉะนั้นคุณอาจจะเตรียมอาหารมาทานเองก็ได้

ร้านค้าและร้านอาหารในวัดสามพราน
ร้านค้าและร้านอาหารในวัดสามพราน

เสื้อผ้าที่ควรสวมใส่เมื่อมาที่วัดสามพราน

เช่นเดียวกับวัดไทยอื่นๆ คุณควรจะสวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสมเมื่อคุณมาเยี่ยมชมวัดสามพราน จะต่างจากวัดในกรุงเทพก็ตรงที่วัดสามพรานนั้นตั้งอยู่ในบริเวณที่ค่อนข้างห่างจากเมือง เพราะฉะนั้นจำนวนผู้คนที่นี่จะไม่พลุกพล่าน อีกทั้งส่วนที่พำนักของสงฆ์ก็อยู่ใกล้ๆในบริเวณของวัด

ควรสวมเสื้อที่ปิดไหล่แล้วสวมกระโปรงหรือกางเกงที่มีความยาวคลุมถึงเข่า ห้ามสวมเสื้อผ้ารัดรูป ซีทรู เสื้อผ้าแบบฉีกขาด หรือเสื้อผ้าที่เปิดเผยเนื้อหนังมากเกินไป หากคุณสวมกระโปรงสั้นหรือเสื้อแขนกุดก็ควรใช้ผ้าพันคอหรือนุ่งโสร่งคลุม

สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆรอบๆวัดสามพราน

เมื่อคุณเดินทางมาไกลขนาดนี้ คุณก็ควรแวะเที่ยวที่อื่นด้วยเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเปล่า สถานที่เหล่านี้อาจเป็นทางเลือกที่ดี:

พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย – เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งแกะสลักที่แสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบไทย คุณสามารถนั่งรถแท็กซี่มาได้ ระยะทาง 10 กิโลเมตร (สถานที่ตั้ง)

เจษฎา เทคนิค มิวเซียม – เป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนบุคคลที่จัดแสดงรถยนต์ รถมอเตอร์ไซต์ และรถแปลกๆจากทั่วโลกที่เป็นของสะสมของเจ้าของพิพิธภัณฑ์ สามารถนั่งรถแท็กซี่มาได้ ระยะทาง 12 กิโลเมตร (สถานที่ตั้ง)

ตลาดน้ำดอนหวาย – หนึ่งในตลาดน้ำที่มีชื่อเสียงและเเป็นที่นิยมที่สุดที่ตั้งอยู่ใกล้กรุงเทพ สามารถนั่งรถแท็กซี่มาได้ ระยะทาง 12 กิโลเมตร (สถานที่ตั้ง)

พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย – เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงสิ่งของและโรงถ่ายหนังของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทยที่มีอายุหลายสิบปี สามารถนั่งรถแท็กซี่มาได้ ระยะทาง 20 กิโลเมตรหรือแวะระหว่างทางกลับกรุงเทพ (สถานที่ตั้ง)

พุทธมณฑล – ที่นี่เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่และสวนดอกไม้ เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจกับครอบครัว สามารถนั่งรถแท็กซี่มาได้ ระยะทาง 24 กิโลเมตรหรือแวะระหว่างทางกลับกรุงเทพ (สถานที่ตั้ง)

ประติมากรรมคนไทยเล่นเกมในพิพิธภัณฑ์ภาพคนไทย
ประติมากรรมคนไทยเล่นเกมในพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย

บทความที่เกี่ยวข้อง


Spread the love
Snigdha Jaiswal
snigdha220491@gmail.com
No Comments

Post A Comment